เมนู

บุคคลปรารถนาโสตสมบัติที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายสมบัติ วรรณ-
สมบัติ คันธสมบัติ รสสมบัติ โผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ ปรารถนาขันธ์ทั้งหลาย
ที่เป็นอุปปาทิธรรมแล้ว ย่อมให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ.
จักขุสมบัติที่เป็นอุปปาทิธรรม ฯลฯ กายสมบัติ วรรณสมบัติ ฯลฯ
โผฏฐัพพสมบัติ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่
เป็นอุปปันนธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผล-
สมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

8. ปุเรชาตปัจจัย


[1901] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุเป็นต้น
นั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ หทยวัตถุ ปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

9. ปัจฉาชาตปัจจัย


[1902] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

10. กัมมปัจจัย


[1903] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

11. วิปากปัจจัย


[1904] อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย